top of page

One Step Forward Workshop | Audio Post-Production for Film


มาต่อกันที่ครึ่งหลังของการ Workshop กันดีกว่า ภาคบ่ายจะเป็นเรื่องของ Audio Post-Production for Films โดยพี่ยู ศรันยู เนินทราย เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจและสำคัญไม่น้อยกว่าดนตรีประกอบเลยทีเดียว มาเริ่มกันที่ความหมายของ Soundtracks กันก่อนเลย Soundtracks ก็คือเสียงทุกเสียงในภาพยนตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า D-M-E

Cinematic Sound

“Larger than life” เป็นคำอธิบายสั้นๆ ของคำว่า Cinematic sounds ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ เสียงที่ใหญ่กว่าความเป็นจริง (เสียงในที่นี้หมายถึงเสียงในภาพยนตร์) กล่าวคือเสียงที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงเสมอไป อาจเป็นเสียงที่เกินจริงหรือน้อยกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการสื่อสาร

พี่ยูยกตัวอย่างได้น่าสนใจ ถึงความหมายและการทำเสียงในภาพยนตร์ที่เรียกว่า Cinematic เริ่มด้วยการเปิดเสียง White noise หรือเสียงที่เราคุ้นชินบ่อยๆ เวลาหาคลื่นทีวีหรือคลื่นวิทยุ ลักษณะของเสียงจะเป็นเสียงซ่าๆ จากนั้นก็ให้ทุกคนหลับตา เมื่อลืมตาอีกครั้งภาพที่ปรากฎตรงหน้า เป็นภาพน้ำตกกำลังไหลลงมาจากหน้าผา ซึ่งเสียงที่ใช้ก็คือเสียง White noise ทีไ่ด้ยินในตอนแรกนั่นเอง หลักการดังกล่าวทำให้เห็นชัดเจนว่า การรับรู้ของมนุษย์นั้น สามารถเชื่อมโยงเสียงและภาพเพื่อสร้างการรับรู้ในมิติที่แตกต่างกันได้ แม้ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงเดียวกันก็ตาม

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการสร้างเสียง Cinematic กัน สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงก็คือ Layer ของเสียง เช่น เสียงฟืนที่กำลังมอดไหม้ เราต้องแยกเสียงให้ออกว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อนำส่วนประกอบต่างๆ มารวมกันให้เป็นเสียงไฟไหม้ที่สมจริงหรือเกินจริง โดยเสียงของฟืนไหม้ สามารถแยก Layer ได้คร่าวๆ 2 เสียงก็คือ เสียงไม้แตกเปรี๊ยะ กับเสียงลมฟู่ๆ เมื่อรู้เช่นนี้ เราก็สามารถนำเอาต้นกำเนิดเสียงทั้งสองแบบมาผสมและสร้างเป็นเสียงฟืนไหม้ได้ โดยไม่ต้องเอาไมโครโฟนไปบันทึกเสียงไฟไหม้จริงๆ

Film Sound Workflow

ขั้นตอนการทำงานของเสียงในภาพยนตร์ (ไม่รวมดนตรีประกอบภาพยนตร์) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้ดังนี้

สิ่งที่จะพูดถึงเป็นหลักก็คือขั้นตอน Post-production ในขั้นตอนนี้การทำงานเป็นทีมคือสิ่งที่สำคัญ ซึ่งในทีม Post-production จะประกอบไปด้วย

1. Sound Editor : มีหน้าที่ ตัดต่อเสียงทั้ง SFX, Foley, Background (Ambient), Dialogue

2. Sound Recordist : มีหน้าที่บันทึกเสียง Foley, ADR

3. Foley Artist : สร้างเสียง Foley ใน Studio

การทำงานใน Studio ของ Foley Artist

4. Sound Designer : ต้องมีประสบการณ์หลายด้านเพราะมีหน้าที่ บันทึกเสียงเพิ่มเติม, สร้างเสียงใหม่ตามสิ่งที่ภาพยนตร์ต้องการ, ออกแบบเสียง

5. Sound Supervisor (Mixer) : เป็นหัวหน้าทีม Post-production ทั้งหมด ที่ต้องคอยควบคุมดูและลูกทีม รวมถึงการ balance เสียงทั้งหมด คร่าวๆ ในขั้นตอน premix และผสมเสียงทั้งหมดก่อนส่งออกไปเป็น final mix ด้วย

จะเห็นได้ว่าวิธีการในขั้นตอน Audio Post-Production นั้นมีรายละเอียดและทีมงานมากมายทีเดียว Lab 5 Soundworks หวังว่าบล็อคนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการศึกษาเรื่องเสียงในภาพยนตร์ สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถนำคีย์เวิร์ดต่างๆ จากบล็อคนี้ ไปใช้หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Audio Post-Production ในอุตสาหกรรมดนตรีประกอบภาพยนตร์ได้นะ

-------------------------------

ขอขอบคุณ

www.facebook.com/PiyatutComposer

www.facebook.com/DachshundAudio

www.facebook.com/studio28bkk

Comentarios


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
No tags yet.
bottom of page